• Css Template Preview
  • Css Template Preview
  • Css Template Preview
  • Css Template Preview
  • Css Template Preview
เสาร์, 20 เม.ย. 2024
You are here:
การบริการงานพัฒนาธุรกิจ
บริการงานพัฒนาธุรกิจ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2011 เวลา 07:25 น.

1.  จัดหาที่ปรึกษา หรือผู้เชียวชาญเฉพาะทางตามความจำเป็นของแต่ละธุรกิจ

2.  สถานที่และอุปกรณ์พื้นฐานตามความเหมาะสม

3.  "พี่เลี้ยง" ที่สามารถให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการดำเนินธุรกิจ

4.  การอำนวยความสะดวกผู้เข้ารับการบ่มเพาะในการขอใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิต วิจัย วิเคราะห์ ทดสอบผลิตภัณฑ์

5.  ได้รับความช่วยเหลือในการจัดตั้งธุรกิจ / การประสานจัดหาแหล่งทุน

6.  กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็ง เช่น การช่วยเหลือด้านการตลาด การฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อเขียนแผนธุรกิจ การดูงาน และการอบรมสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น เป็นต้น

 
สิ่งอำนวยความสะดวก PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2011 เวลา 09:08 น.

ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้บริการภายในศูนย์บ่มเพาะฯ แก่ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ ดังต่อไปนี้

สถานที่ให้การบ่มเพาะ



อาคารวิจัยและพัฒนา ชั้น 5 - 6  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เลขที่  50  ถนนพหลโยธิน  แขวงลาดยาว  เขตจตุจักร

กรุงเทพฯ  10900

ผู้รับการบ่มเพาะที่มีการเซ็นสัญญาการบ่มเพาะฯ แล้ว สามารถใช้ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร ในหัวกระดาษจดหมาย นามบัตร หรือเอกสารเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจของตนเองได้


เวลาทำการและการเข้าออกภายใน

สำหรับผู้เข้ารับการบ่มเพาะ


เวลาเปิด - ปิดอาคาร 07.30 - 17.00 น.

เข้า - ออก ได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์

เวลาเข้าออก 08.30 - 24.00 น.

ทั้งนี้วัน - เวลาที่เกินไปจากเวลาทำการ (08.30 - 16.30 น.) และวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ ผู้เข้ารับการบ่มเพาะจะต้องแสดงบัตรและลงชื่อ และเวลาเข้าออกที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของอาคารวิจัยและพัฒนา บริเวณประตูทางเข้า

บัตรเข้าพื้นที่ภายในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Key Card)


เพื่อความปลอดภัยของบุคคล และทรัพย์สินทางราชการ และส่วนบุคคลภายในบริเวณอาคาร ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ จะจัดบัตรเข้าออกในบริเวณอาคารให้ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ 1 ใบ/ราย และกุญแจห้องทำงาน 1 ดอก และเมื่อหมดสัญญาการเข้ารับการบ่มเพาะแล้ว จะต้องคืนบัตรเข้าออกอาคารพร้อมกุญแจห้องทำงานให้กับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ

พื้นที่การให้บ่มเพาะ


ทางศูนย์ฯ   ได้มีจัดเตรียมพื้นที่สำหรับผู้เข้ารับการบ่มเพาะ  จำนวน 800 ตารางเมตร  แบ่งเป็นห้องทั้งหมด   16   ห้อง  ซึ่งได้มีการคิด  อัตราค่าเช่าพื้นที่สำนักงานมีดังนี้

ตารางเมตร  150  บาท / ตารางเมตร /เดือน


อุปกรณ์สำนักงาน

ทางศูนย์ฯ  ได้มีการจัดเตรียมอุปกรณ์สำนักงานไว้ให้กับผู้เข้ารับการบ่มเพาะ  โดยคิดอัตรา ค่าเช่า  ดังนี้

ระบบสาธารณูปโภค


ผู้เข้ารับการบ่มเพาะจะต้องรับผิดชอบค่าสาธารณูปโภค (ไฟฟ้าและน้ำประปา) ตามความเป็นจริง โดยจะมีใบเรียกเก็บเงินประจำเดือน


ระบบโทรศัพท์


ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ จะติดตั้งโทรศัพท์สายกลางภายในพื้นที่สำนักงาน และทำการดึงสายเลขหมายภายในไปยังแต่ละหน่วยทำงาน (ราย) ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะแจ้งหมายเลขภายในให้ทราบ

ผู้เข้ารับการบ่มเพาะสามารถโทรศัพท์ออกได้ภายในรหัสจังหวัดเดียวกัน โดยจะมีการเรียกเก็บค่าโทรศัพท์จากผู้เข้ารับการบ่มเพาะประจำเดือน


Internet


ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งติดตั้งเชื่อมโยงกับเครือข่ายนนทรี ให้ผู้เข้าร่วมการบ่มเพาะสามารถใช้บริการได้ฟรี


โทรสาร


ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบริการโทรสาร ณ ห้องประสานงานชั้น 5 ห้อง 509 โดยผู้รับบริการจดบันทึกการใช้โทรสารแต่ละครั้ง และจะเรียกเก็บจากผู้รับบริการรายเดือน โดยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลครั้งละ 3 บาท ต่างจังหวัดตามอัตราในใบแจ้งค่าใช้บริการที่มีการเรียกเก็บจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 03 พฤษภาคม 2011 เวลา 09:05 น.
 
ระเบียบข้อบังคับภายในหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2011 เวลา 09:07 น.

คำนิยาม

ผู้รับบริการหมายถึงผู้รับการบ่มเพาะและทีมงานตามสัญญา และผู้ใช้บริการพร้อมทีมงานรายอื่นที่เข้ามาใช้พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในหน่วยบ่มเพาะ

1. ผู้รับบริการจะต้องใช้สถานที่ อุปกรณ์สำนักงานที่หน่วยบ่มเพาะจัดให้ และอุปกรณ์ของส่วนกลางของหน่วยบ่มเพาะด้วยความระมัดระวัง และเป็นปกติวิสัยเสมือนเป็นเจ้าของทรัพย์สินเอง

2. ผู้รับบริการต้องดูแลความปลอดภัยและระมัดระวังในความปลอดภัยซึ่งทรัพย์สินของหน่วยบ่มเพาะและของตัวเอง

3. ผู้รับบริการต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์สำนักงานในสภาพเรียบร้อยและไม่กระทำการใดๆ หรือยินยอมให้มีการกระทำใดๆ อันมีวัตถุประสงค์ผิดต่อกฎหมาย ขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือความสงบเรียบร้อย หรือเป็นอันตรายต่อสุขลักษณะและอนามัย

4. ผู้รับบริการต้องไม่กระทำการ หรือยินยอมให้กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความรำคาญรบกวน หรือความไม่สงบต่อผู้อื่นภายในหน่วยทำงาน

5. ผู้รับบริการตกลงว่าหน่วยบ่มเพาะ รวมทั้งบุคลากรที่ทำงานในหน่วยบ่มเพาะและศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชนไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย การขาดทุนของกิจการ การโจรกรรม หรือการสูญเสียใดๆ ที่หน่วยบ่มเพาะรวมทั้งบุคลากรที่ทำงานในหน่วยบ่มเพาะและศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชนไม่ได้เป็นผู้กระทำหรือเป็นสาเหตุของความเสียหายนั้นๆ

6. การเปลี่ยนแปลง ขนย้าย แก้ไขอุปกรณ์สำนักงานในหน่วยทำงาน ไม่สามารถกระทำได้ยกเว้นแต่จะมีการขออนุญาต และได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากทั้งสองฝ่ายก่อน

7. เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการของหน่วยบ่มเพาะ ผู้รับบริการต้องจัดส่งอุปกรณ์สำนักงานทั้งหมดในสภาพเดิม (เว้นแต่เป็นการเสื่อมสภาพตามปกติ)

8. ผู้รับบริการต้องไม่เก็บ หรือนำ หรือยินยอมให้มีการนำเข้าซึ่งวัสดุใดๆ ที่อาจเป็นเชื้อเพลิง หรือก่อให้เกิดระเบิด หรืออัคคีภัยเข้ามาในหน่วยบ่มเพาะ

9. เวลาเข้า-ออกที่ผู้รับบริการสามารถเข้าใช้พื้นที่หน่วยบ่มเพาะได้คือตั้งแต่เวลา 08.30 - 24.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ นอกจากนี้ไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดพักค้างคืนภายในหน่วยบ่มเพาะ หากพบว่ามีผู้ฝ่าฝืนทางหน่วยบ่มเพาะจะพิจารณาระงับการใช้พื้นที่ของผู้รับบริการรายนั้น

10. หากมีความจำเป็นต้องเข้าไปภายในพื้นที่หน่วยบ่มเพาะภายหลังเวลา 24.00 น. จะต้องมีการขออนุญาตโดยระบุเหตุผลพร้อมทั้งเวลาเข้าออกให้ชัดเจน และได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากทั้งสองฝ่ายก่อน

11. ผู้รับบริการตกลงจะปฏิบัติตามกฏ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่หน่วยบ่มเพาะได้ประกาศใช้แล้ว หรือที่จะประกาศใช้ในภายหลังอย่างเคร่งครัด

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 03 พฤษภาคม 2011 เวลา 09:01 น.
 
การให้บริการ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2011 เวลา 09:05 น.

1.  จัดหาที่ปรึกษา หรือผู้เชียวชาญเฉพาะทางตามความจำเป็นของแต่ละธุรกิจ

2.  สถานที่และอุปกรณ์พื้นฐานตามความเหมาะสม

3.  "พี่เลี้ยง" ที่สามารถให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการดำเนินธุรกิจ

4.  การอำนวยความสะดวกผู้เข้ารับการบ่มเพาะในการขอใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิต วิจัย วิเคราะห์ ทดสอบผลิตภัณฑ์

5.  ได้รับความช่วยเหลือในการจัดตั้งธุรกิจ / การประสานจัดหาแหล่งทุน

6.  กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็ง เช่น การช่วยเหลือด้านการตลาด การฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อเขียนแผนธุรกิจ การดูงาน และการอบรมสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น เป็นต้น

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 03 พฤษภาคม 2011 เวลา 09:07 น.