ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ 1 . พัฒนาปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงาน 2. เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรให้มีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร 3. บริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการบริการวิชาการอย่างเป็นระบบ และเป็นเอกภาพ
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมให้คณะ/สำนัก/สถาบัน ดำเนินกิจกรรมให้บริการวิชาการอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ 2. เสริมสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก และในระดับนานาชาติให้เข้มแข็ง 3. พัฒนากลไกการให้ บริการวิชาการและระบบฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยและสังคม
กลยุทธ์ 1. เผยแพร่ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาแก่บุคลากรทางการวิจัย 2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ 3. ติดตามและบริหารสัญญาให้เป็นไปตามข้อตกลง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไปขยาย ผลเชิงพาณิชย์โดยกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ
กลยุทธ์ 1 . เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับภาระกิจการบ่มเพาะธุรกิจ 2. พัฒนากลไกและกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ 3. สร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อสนับสนุนการบ่มเพาะและการให้บริการกลุ่มเป้าหมาย
นโยบาย
นโยบายของสำนักงานบริการวิชาการ มี 4 ด้าน ได้แก่
ด้านการบริหารจัดการ
สำนักงานบริการวิชาการเป็นองค์กรที่มีขนาดเล็ก ที่มีประสิทธิภาพการทำงานในฐานะผู้ประสานงานกลางด้วยการใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และทรัพยากรหลักของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว มาใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถ เสริมสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัย
ด้านบริการวิชาการ
สนับสนุนหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อก่อให้เกิดการให้บริการวิชาการแก่องค์กรภาครัฐและเอกชนอย่างมีศักยภาพ รวมทั้งดำเนินการจดทะเบียนที่ปรึกษาทุกสาขาความเชี่ยวชาญกับกระทรวงการคลัง
ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรทางการวิจัยตระหนักและรู้คุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนางานวิจัยที่มี นวัตกรรม สามารถดำเนินการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และถ่ายทอดสู่เชิงพาณิชย์ได้
ด้านการพัฒนาธุรกิจ
สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ไปขยายผลเชิงพาณิชย์ โดย กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ หรือการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในเทคโนโลยี
|